Related Site


World Health Organization

Centers for Disease Control and prevention

Ministry of Public Health

Department of Medical Sciences

The National Institute of Health


บทคัดย่อโครงการ"การเฝ้าระวังการกลายพันธุ์และการดื้อยาของเชื้อไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกและเชื้อไวรัสทางเดินหายใจที่เป็นปัญหาสาธารณสุข"

หลักการและเหตุผล

หลังจากที่โลกต้องเผชิญกับเชื้อร้ายแรงเช่น เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 เชื้ออุบัติใหม่หลายชนิด ได้เกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย โดยเฉพาะ ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (Severe Acute Respiratory Infections :SARI) หรือ ปอดบวม ปอดอักเสบรุนแรง และมีอัตราการตายสูง เช่นไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H10N8 เชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 (MERS-CoV) เป็นต้น และยังมีเชื้ออุบัติซ้ำอีกหลายชนิดที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข ที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง ควบคู่กันไปกับเชื้อไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกด้วย เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ที่มีศักยภาพ สามารถสนับสนุนข้อมูล อุบัติการณ์ของเชื้อต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคปอดบวม ปอดอักเสบรุนแรง ได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ป่วยด้วยโรคเหล่านี้จำนวนมากที่ไม่สามารถค้นหาเชื้อที่เป็นสาเหตุได้ เพราะข้อจำกัดจากงบประมาณสำหรับการตรวจหาเชื้อหลายชนิด หรือแพทย์มีความสนใจต่อเชื้อบางชนิดเท่านั้น ดังนั้นระบบเฝ้าระวังฯที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ขยายศักยภาพนี้ จะเป็นแหล่งข้อมูลและองค์ความรู้ที่สำคัญ สำหรับหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและควบคุมโรค ได้นำไปใช้ประโยชน์ ในการการจัดทำแผนหรือนโยบายในการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนกรวมถึงเชื้ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและระบบเฝ้าระวังฯนี้ควรจะได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบสาธารณสุขไทย

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

  1. เฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อไข้หวัดใหญ่และเชื้อไข้หวัดนก
  2. เฝ้าระวังเชื้อไวรัสทางเดินหายใจที่เป็นปัญหาสาธารณสุข
  3. ศึกษาการดื้อยากลุ่ม neuraminidase inhibitor ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
88/7 ซอยโรงพยาบาลบำราศนราดูร
ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง
จังหวัดนนทบุรี 11000

หน่วยงานที่สนับสนุน

  • 1. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่ง
  • 2.โรงพยาบาลเครือข่าย
  • 2.1 โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก
  • 2.2 โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี
  • 2.3 โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • 2.4 โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
  • 2.5 สถาบันบำราศนราดูร จังหวัดนนทบุรี
  • 3. สำนักระบาด
ระยะเวลาดำเนินการ    เริ่มตั้งแต่ ตุลาคม 2557 - กันยายน 2562

กิจกรรม

  • 1.โรงพยาบาลเครือข่าย เก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยที่มีอาการดังนี้
  • 1.1 อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ( Influenza like illness: ILI ) คือ มีไข้ ร่วมกับไอ และ/หรือ เจ็บคอ ในช่วง 5 วันที่ผ่านมา โดยเก็บสัปดาห์ละ 10 ราย แยกป็นผู้ป่วยเด็ก 5 รายและผู้ป่วยผู้ใหญ่ 5 ราย
  • 1.2 ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (Severe Acute Respiratory Infections :SARI) ที่แพทย์วินิจฉัยเป็นปอดอักเสบ หรือ สงสัยไข้หวัดใหญ่ และรับไว้นอนรักษาในโรงพยาบาล (admitted pneumonia, CAP or SARI) โดยเก็บสัปดาห์ละ 5 รายหรือมากกว่า
  • 2. โรงพยาบาลเครือข่าย นำส่งตัวอย่างที่เก็บไว้ในถังไนโตรเจนเหลว สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยให้ถึงห้องปฏิบัติการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภายในวันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์ พร้อมหนังสือนำส่ง
  • 3. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่งส่งตัวอย่างที่ตรวจพบผลบวกไข้หวัดใหญ่จากงานบริการมายังสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขประมาณเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อแยกเชื้อและวิเคราะห์หาสายพันธุ์
  • 4. ตัวอย่างที่ได้รับจากโรงพยาบาลเครือข่าย จะทำการตรวจวิเคราะห์และศึกษาเชื้อที่แยกได้ดังนี้
  • 4.1 ตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกด้วยวิธี RT-PCR, realtime RT-PCR
  • 4.2 การตรวจวิเคราะห์หาเชื้อไวรัส 16 ชนิดด้วยชุดน้ำยา Multiplex realtime PCR (Flu A, Flu B, HRV, PIV1, PIV2, PIV3, PIV4 , Adv , RSVA, RSVB, HEV, MPV, HBoV, CoV 229E, CoV NL63 และ CoV OC43)
  • 4.3 ศึกษาการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโดยการแยกเชื้อไวรัสและวิเคราะห์หาสายพันธุ์ด้วยการทดสอบคุณสมบัติทางแอนติเจนด้วยวิธี IFA และ HI
  • 4.4 ศึกษาการกลายพันธุ์โดยหาลำดับเบสของสารพันธุกรรม (Gene sequencing)
  • 4.5 ศึกษาการดื้อยาโดยการหายีนที่ดื้อยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ด้วยวิธี Partial NA seqeuncing และ Pyrosequecing
  • 4.6 ทดสอบยืนยันการดื้อยากลุ่ม neuraminase inhibitor ทาง phenotypic ด้วยวิธี Fluorometric neuraminidase inhibition assay
  • 5.รายงานผลรายสัปดาห์ผ่านทางเว็ปไซต์ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (www.thainihnic.org) และ executive group mail

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการฯ

  1. มีระบบเฝ้าระวังที่สนับสนุนข้อมูลอุบัติการณ์ของเชื้อไข้หวัดใหญ่ การกระจายของตัวเชื้อตามฤดูกาลและตามภูมิภาค สามารถจำแนกเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ถึงระดับสายพันธุ์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานสาธารณสุขในการบริหารวัคซีนของประเทศให้มีประสิทธิภาพจากการเลือกใช้สายพันธุ์วัคซีนและเวลาที่เหมาะสมในการให้วัคซีนกับประชากรไทย
  2. มีการรายงานการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาอย่างต่อเนื่อง เป็นประโยชน์ต่อการบริหารการใช้ยาต้านไวรัส ทำให้การรักษาผู้ป่วยเกิดประสิทธิผล
  3. ได้ข้อมูลอุบัติการณ์ของเชื้อไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก และเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม ปอดอักเสบรุนแรง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนป้องกันและควบคุมโรค

รายงานสถานการณ์ เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในประเทศไทย


รายงานสถานการณ์ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย

Contact Us

Address:
National Institute of Health
Department of Medical Sciences
Ministry of Public Health
Tivanon Road, Muang District
Nonthaburi 11000, Thailand
Phone:
(662)9510000-11
Fax:
(662)5915449, (662)5899865


Visitor Numbers
013016
Newsletter
Weekly Report
รายงานผลการเฝ้าระวังเชื้อไข้หวัดใหญ่เฉพาะพื้นที่ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข
Meeting